ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

PAD คืออะไร

เทคโนโลยี PAD ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของไมโครไลฟ์ สามารถเตือนท่านเมื่อตรวจจับการเต้นของหัวใจผิดปกติ (Pulse Arrhythmia) โดยระบบจะแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติด้วยสัญลักษณ์ชีพจร PAD ทั้งนี้การแจ้งเตือนดังกล่าวไม่ใช่การวินิจฉัย (Diagnosis) หากท่านพบสัญลักษณ์ชีพจร PAD ขึ้นบ่อยหลังการวัด ให้ท่านรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความผิดปกติของหัวใจ 

 

ประเภทของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Types of Arrhythmias)
 

ประเภทของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ  (Types of Arrhythmias)

ความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหลายประเภทมีอยู่ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุด:

Premature atrial contractions (PACs)—These early extra beats start in one of the atria, the heart’s two upper chambers. They are harmless and don’t usually require treatment.

Premature ventricular contractions (PVCs)—Common and generally benign, a PVC is felt as a skipped heartbeat but is actually an early extra beat that starts in the heart’s two lower chambers, the ventricles.

Atrial fibrillation (AF) —A quivering or irregular heartbeat in the upper chambers of the heart that causes blood to move through the ventricles more slowly than normal. Atrial fibrillation can lead to blood clots, stroke, heart failure, and other heart-related complications. It’s the most common serious arrhythmia in people over the age of 65.

Atrial flutter—Similar to atrial fibrillation but usually more organized and regular, atrial flutter happens most often in people who have had surgery for heart disease. It usually changes to atrial fibrillation.

Ventricular fibrillation—When the heart’s lower chambers quiver and can’t contract or pump blood around the body, causing a medical emergency. Ventricular fibrillation must be treated with CPR and defibrillation as soon as possible.

Sick sinus syndrome—A slow or erratic heartbeat that occurs when your sinus node, which is responsible for setting the pace of your heart, doesn’t send impulses normally, causing your heart to not pump enough blood. This condition is sometimes treated with a pacemaker.

Source: https://www.pulseheartinstitute.org/how-we-help/conditions-we-treat/arrhythmia/#:~:text=A%20heart%20arrhythmia%20is%20an,%E2%80%94doesn’t%20work%20properly.

อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Symptoms)

ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น

  • ใจสั่น
  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที)
  • หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที)
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจหอบ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก
  • หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ

ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป

source:https://www.pobpad.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B0
การวินิจฉัย (Diagnosis)

การวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการใจสั่น  ประกอบด้วย

1. การซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ : ลักษณะโดยละเอียดของอาการใจสั่นการตรวจร่างกายทุกระบบ รวมถึงการคลำชีพจร และการฟังเสียงของหัวใจ จะช่วยเป็นแนวทางให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง หรือ ส่งตรวจเพิ่มเติมได้เหมาะสมต่อไป

2. การส่งตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น การตรวจภาวะซีด, การทำงานของต่อมไทรอยด์, หาค่าอิเล็กโตรไลต์และการทำงานของไต เป็นต้น

3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการบันทึกกระแสไฟฟ้าจากหัวใจ ถ้าตรวจ ณ ขณะที่หัวใจเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ ก็จะสามารถให้การวินิจฉัยโรคได้  และถึงแม้จะตรวจในช่วงที่ไม่มีอาการก็อาจมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความผิดปกติในหัวใจที่อาจเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เช่น หัวใจโต, แผลเป็นจากหัวใจ, เส้นเลือดหัวใจอุดตัน, โรคไหลตาย เป็นต้น

ภาพที่ 1 การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) โดยการติดขั้วไฟฟ้าที่แขน, ขา, และหน้าอกของผู้ป่วย  ซึ่งต่อไปยังเครื่องแปลผล  เพื่อวัดลักษณะการเดินทางของไฟฟ้าในหัวใจ

4. การติดเครื่องมอนิเตอร์คลื่นไฟฟ้าหัวใจเคลื่อนที่ (Ambulatory ECG monitoring) มีเครื่องอยู่หลายแบบ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะและความถี่ของอาการใจสั่น  เช่น Holtor monitor สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่องได้ 24-48 ชั่วโมง, Event monitor มีปุ่มให้ผู้ป่วยกดบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่มีอาการใจสั่น, หรือ Implantable loop recorder เป็นเครื่องที่ฝังเข้าใต้ผิวหนังของคนไข้และสามารถบันทึกความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้นานถึง 3 ปี 

source: http://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-328

 

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Treatment)

    ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการ ทำให้ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น อันจะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวประสบปัญหายุ่งยากในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่อัมพาตจนถึงเสียชีวิต
ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่พบมากที่สุด คือ หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่เรียกว่า Atrial fibrillation ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงถึง 10-15 % ต่อปี เนื่องจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจจากการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะหลุดลอยออกไปอุดหลอดเลือดสมอง เกิดภาวะหัวใจอ่อนกำลังอันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูงขึ้นเมื่อพบร่วมกับโรคเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน จึงเห็นได้ว่าในระยะยาวเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วจะเป็นการยากที่จะรักษาให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตดีเหมือนเดิม

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
    การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ อาจทำได้ โดย
• การรักษาด้วยยา
• การจี้รักษาด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุ โดยใช้สายสวนพิเศษ (Radiofrequency Catheter Ablation)
• การฝังเครื่องมือพิเศษ
• การผ่าตัด แก้ไขภาวะไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งมีทั้งแบบมาตรฐาน และชนิด Minimally Invasive Surgery
– การรักษาด้วยยา แพทย์อาจรักษาโดยการใช้ยาเพียงอย่างเดียว เริ่มด้วยยาคลายเครียด  แพทย์อาจให้ยาต้านการเต้นผิดปกติ หรือยากระตุ้นหัวใจ

– การจี้รักษาด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุ โดยใช้สายสวนพิเศษ (Radiofrequency Catheter Ablation)
เป็นวิธีการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่ได้ผลดีถึงดีมาก (80 –95%) โดยการสอดสายสวนไปวางที่ตำแหน่งต่างๆ ในหัวใจ เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และใช้กระตุ้นหัวใจ หลังจากนั้นแพทย์จะสอดสายสวนพิเศษเข้าไปอีก 1 เส้น เพื่อหาตำแหน่งที่หัวใจนำไฟฟ้าเร็วกว่าปกติ เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการ แพทย์จะปล่อยกระแสไฟฟ้าความถี่สูง ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่ปลายสายสวนพิเศษนี้ ทำให้การนำไฟฟ้าที่จุดนั้นถูกทำลาย หัวใจก็จะไม่เต้นผิดปกติอีกต่อไป

– การจี้รักษาด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุ มีอันตรายต่อผู้ป่วยหรือไม่
อันตรายจากการจี้ด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุ มีน้อยมาก เพราะคลื่นไฟฟ้าที่ใช้มีกระแสไฟฟ้าต่ำประมาณ 40-60 โวล์ท ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่เนื้อเยื่อหัวใจอุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส พลังงานนี้จะไม่กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจหรือปลายประสาท ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกเพียงเล็กน้อย จึงสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องวางยาสลบ

– การฝังเครื่องมือพิเศษ
ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นเร็วมากจนความดันโลหิตต่ำ  คลำชีพจรไม่ได้  หรือเกิดหลายรูปแบบสลับไปมา หรือหัวใจห้องล่างเต้นพริ้ว ถ้าหัวใจไม่เต้นกลับเป็นปกติในเวลาอันรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจเสียชีวิต  แพทย์จะแนะนำให้ฝังเครื่องช็อคหัวใจอัตโนมัติที่หน้าอกร่วมกับการรับประทานยาต้านการเต้นผิดจังหวะ
ส่วนภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ แพทย์จะฝังเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดกระตุ้นห้องเดียว และ สองห้อง การฝังเครื่องชนิดใดขึ้นกับพยาธิสภาพที่ผู้ป่วยเป็น

source: https://ww2.bangkokhospital.com/hearthospital/en/heart-health-info/heart-disease-and-treatment/75/full_detail/disease

 

เทคโนโลยี PAD และ AFIB ต่างกันอย่างไร

เทคโนโลยี PAD (Pulse Arrhythmia Detection) ที่มีมาพร้อมกับเครื่องวัดความดันรุ่นใหม่ๆ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนผู้ใช้งานว่าความความดันที่วัดได้อาจไม่ถูกต้องหากมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Heart Arrhythmia) ทั้งนี้ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Heart Arrhythmia) ที่ตรวจจับได้ดังกล่าวไม่ได้แยกระหว่างที่เป็นประเภทที่อันตรายและไม่อันตราย ( เช่น sinus arrhythmia, premature atrial contractions (PAC) or bradycardia) ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานตีความผิดได้

อย่างไรก็ดีเทคโนโลยี Microlife AFIBsens หรือ AFIB ของ Microlife ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าสามารถตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ประเภท Atrial Fibrillation หรือหัวใจสั่นพริ้ว ซึ่งเป็น ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Heart Arrhythmia) ที่อันตราย โดยมีความแม่นยำระดับสูงได้รับการพิสูจน์แล้วหลายครั้งในการทดลองทางคลินิกและได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ต่างประเทศ

source: https://www.microlife.com/technologies/blood-pressure/afib-technology

Recommended by NICE (UK)

Recommended by NICE (UK)
The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) officially recommends using the WatchBP Home A during routine blood pressure measurement for all general practitioners in the United Kingdom. [20] 

  • “The available evidence suggests that the device reliably detects atrial fibrillation and may increase the rate of detection when used in primary care.”
  • “WatchBP Home A should be considered for use in people with suspected hypertension and those being screened or monitored for hypertension, in primary care.”
  • Prevention of 2,000 strokes per year in the UK (81 per 100,000 patients screened aged 65 – 75 years and 182 per 100,000 patients aged 75 years and older).
  • Healthcare cost savings of € 31 million a year
source: https://www.microlife.com/technologies/blood-pressure/afib-technology
Oxford trial 2013

Oxford trial 2013
The University of Oxford in the UK, known as one of the best medical universities in the world, has performed a randomized clinical trial among 1,000 GP patients to reveal the best method for AF screening in primary care. This study showed that using the Microlife WatchBP Home A is the best method and is recommended for AF screening in primary care practice and for patients at home.

“Conclusions: WatchBP performs better as a triage test for identifying AF in primary care than the single-lead ECG monitors as it does not require expertise for interpretation and its diagnostic performance is comparable to single-lead ECG analysis by cardiologists. It could be used opportunistically to screen elderly patients for undiagnosed AF at regular intervals and/or during BP measurement. [14]” 

source: https://www.microlife.com/technologies/blood-pressure/afib-technology

การทดสอบทางการแพทย์

เครื่องวัดความดันที่จะจำหน่ายออกสู่ตลาด หากคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นที่ตั้งแล้ว จะต้องผ่านการทำ Clinical validation หรือ การทดสอบทางการแพทย์ก่อนจัดจำหน่าย การทดสอบทางการแพทย์นอกเหนือจากเป็นการทดสอบความปลอดภัยในการใช้งานแล้ว ยังเป็นการทดสอบความแม่นยำของเครื่องซึ่งมีความสำคัญอย่างสูงสำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดค่าที่มีความสำคัญต่อการวินิจฉัยโรค เช่น ค่าความดัน ค่าน้ำตาล ทั้งนี้ การทดสอบทางการแพทย์มีหลากหลายเกณฑ์การประเมิน รวมทั้งหลากหลายกลุ่มผู้ใช้งาน ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้งานปกติ และกลุ่มผู้ใช้งานพิเศษ อันได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย อาการความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ เด็ก และคนแก่ ซึ่งมีค่าความดันต่างจากกลุ่มผู้ใช้งานปกติ การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันจึงไม่ควรดูแต่เพียงว่าเครื่องวัดความดันนั้นผ่านการทดสอบทางการแพทย์แล้ว แต่ต้องดูว่าเครื่องวัดความดันนั้นผ่านการทดสอบทางการแพทย์อะไร

ข้อมูลเพิ่มเติม

การรับประกันสินค้า

เครื่องวัดความดันประกันศูนย์

5

YEAR WARRANTY

ปลอกแขนประกันศูนย์

2

YEAR WARRANTY

อะแดปเตอร์ประกันศูนย์

1

YEAR WARRANTY

ที่วัดไข้อินฟราเรดประกันศูนย์

2

YEAR WARRANTY

ที่วัดไข้ดิจิทัลประกันศูนย์

Lifetime

WARRANTY

รูปถ่ายผลิตภัณฑ์

เครื่องวัดความดัน และที่วัดไข้ Microlife มีการจัดจำหน่ายอยู่ในร้านขายยาชั้นนำทั่วประเทศไทย หากลูกค้าประสงค์จะทดลองหรือซื้อสินค้า
สามารถติดต่อบริษัทฯ เพื่อระบุร้านที่จำหน่ายสินค้าในพื้นที่ของท่านได้